วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เด็กกับความรุนแรงในสังคมไทย

เด็กกับความรุนแรงในสังคมไทย

เด็กกับความรุนแรงในสังคมไทยสังคมไทยจำเป็นต้องเข้าใจปัญหาการใช้ความรุนแรงของเด็กในสังคมไทยให้แจ่มชัดมากขึ้น เพราะการใช้ความรุนแรงในการดำเนินชีวิตได้คืบคลานเข้ามาอยู่กับเด็กไทยทุกขณะแล้ว กระแสการต่อต้านเกมที่ใช้ความรุนแรงและรัฐได้ปราบไม่ให้ร้านเกมมีเกมประเภทความรุนแรงบริการเด็ก อันเนื่องมาจากกรณีเด็กนักเรียนอายุ 16 ปล้นฆ่าแท็กซี่โดยรับว่าได้รับอิทธิพลจากเกมที่มีความรุนแรงเป็นสาระหลัก
แม้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรจะทำ แต่สังคมไทยไม่ควรจะนิ่งนอนใจหรือพึงพอใจว่าได้ขจัดต้นตอการใช้ความรุนแรงไปได้แล้วเพราะในความเป็นจริงนั้น การใช้ความรุนแรงของเด็กมีเงื่อนไขอื่นมากำหนดอีกมากมายตัวอย่างการก่ออาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการเล่นเกมมีอีกมากมาย เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืนการตี ฆ่า ข่มขืน ของเด็กแซ็บ เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทยหรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้"โชว์พาว" ข่มขู่เด็กอื่นๆ ตัวอย่างมากมายเช่นนี้ชี้ให้ตั้งคำถามได้ทันทีว่า เกมเป็นต้นตอความรุนแรงจริงหรือ หรือว่า เกมจะเป็นเพียงเงื่อนไขการกระตุ้นสำนึกของการใช้ความรุนแรงในการดำเนินชีวิตที่ฝังในเด็กวัยรุ่นไปเรียบร้อยแล้ว
ทำให้ดิฉันนึกถึงข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ว่าวัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา ทำให้เรามองไปว่าการตัดสินใจของวัยรุ่นไม่ได้ตั้งอยู่บนเหตุผลใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง และทุกคนที่มองปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยเกิดจากการที่เด็กเล่นเกมหรือการรับวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งที่จริงแล้วมองว่ามันเป็นการโทษกันไปโทษกันมา เพื่อปัดปัญหาให้พ้นตัว เราเคยคิดกันไหมว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้นมันมาจากการที่เด็กไทยของเราขาดวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย ด้วยสภาวะที่เปลี่ยนไปทำให้เราลืมวัฒนธรรมที่ดีงามไป มองกลับมาถ้าเราปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ให้เขาก็จะสามารถลดปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นลงได้
วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการแสดงออกความสามารถ ต้องการการยอมรับ เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ต้องคิดหากิจกรรมที่จะให้เขาได้ทำในสิ่งที่ต้องการในทางที่ถูกต้อง การที่จะทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมความรุนแรงลงได้ต้องใช้เวลานานและต้องอดทนที่จะทำค่อยๆ ปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีงามของเราให้เขาจนเขาสามารถซึมซับได้ เขาก็จะเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เขาจะทำมันถูกต้อง การกระทบกระทั่งกันมันต้องมีบ้างแต่เราก็ต้องรู้จักที่จะให้อภัยกัน กล่าวคำว่าขอโทษเมื่อเราผิด ยอมถอยออกมาคนละก้าวเพื่อที่จะไม่ต้องกระทบกระทั่งกัน การใช้ความรุนแรงไม่ถือว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่แต่การชนะใจตนเองด้วยการระงับอารมณ์เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด
เด็กวัยรุ่นมักมีความรุนแรงมากจนไม่คาดถึง เท่าที่พบเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์มีมากมาย สาเหตุพฤติกรรมรุนแรงของเด็กวัยรุ่นที่แสดงออกจากการวิเคราะห์ มักพบว่า นอกจากเด็กส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่แตกแยกทำให้เด็กมีปัญหา เนื่องจากพ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอน และดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กมักขาดระเบียบวินัย และขาดความอดทนต่อการรอคอยแล้วที่น่าสนใจไม่น้อยยังพบว่า เด็กอีกหลายคนที่พ่อแม่ดูแลดีเกินไป ประคบประหงมจนลูกทำอะไรไม่เป็น ไม่เคยต่อสู้อุปสรรคปัญหาใดๆ หรือขาดความเข้มแข็งเปราะบางจนไม่สามารถทนต่อความผิดหวังได้ ในวัยเด็กเล็กการตามใจลูกทำให้เด็กขาดระเบียบวินัย จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กดื้อ เอาแต่ใจตนเองหากไม่ได้ดั่งใจก็จะก้าวร้าวกับพ่อแม่ต่อมาอาการก้าวร้าวจะเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นความรุนแรงตามข่าวที่มักพบบ่อยๆ ในวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่เป็นตัวของตัวเองมีความสนใจเข้ากลุ่มเพื่อนและเชื่อฟังเพื่อนมากกว่าผู้ใหญ่ผู้ให้ดังนั้นหากถูกเพื่อนปฏิเสธ หรือมีปัญหาทางการเรียนด้วยแล้วมักถูกเพื่อนชักจูงไปในทางที่ไม่เหมาะสม ยิ่งมีตัวกระตุ้นด้วยการลองดื่มเหล้า หรือสารเสพติดด้วยแล้วยิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงเสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมได้ในที่สุด
การลดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงได้นั้นพ่อแม่สามารถฝึกเด็กได้ตั้งแต่ยังเล็ก โดยฝึกให้เขาเคยได้รับความผิดหวังบ้าง เช่น อาจสร้างมุมมองแนวคิดเมื่อเผชิญกับความผิดหวังฝึกให้เขามองโลกในแง่ดี มองถึงอนาคตรวมทั้งข้างหน้ายังมีโอกาสที่ผ่านเข้ามาอีกเรื่อยๆ"ไม่ใช่หมดแล้วหมดเลย แต่โอกาสข้างหน้ายังมีหรือ เสียแล้วเสียไปหาใหม่ดีกว่า" จะทำให้เขามองโลกได้กว้างขึ้น รวมทั้งยังช่วยลดความโกรธ ความเคียดแค้นที่มีอยู่ภายในใจด้วยการให้เขารู้จักเรียนรู้ในการให้อภัยแก่ผู้อื่นและตนเองด้วย ทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้รวมทั้งหัดให้เด็กรู้จักวิเคราะห์ผลการกระทำโดยให้มองแบบลูกโซ่ เช่น ถ้าเขาทำแบบนี้จะเกิดผลอย่างไรต่อใครบ้างนอกจากตนเอง รวมทั้งทำแล้วถ้าผลไม่เป็นตามที่คิดที่หวังจะยอมรับได้หรือไม่ เพื่อให้เด็กสามารถจัดการกับปัญหา และตัดสินใจยอมรับผลที่เกิดขึ้นด้วยตนเองซึ่งสำคัญมากเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต
อย่างไรก็ดีหากพ่อแม่ที่คิดว่าลูกโตแล้วฝึกไม่ทันเพราะผ่านการฝึกฝนในวัยเด็กเล็กไปแล้วก็ตาม แต่แต่เรื่องนี้ไม่มีคำว่าสายเกินไป อย่าท้อใจที่จะเริ่มต้นฝึกเด็กด้วยความอดทน เพื่อให้เขาปรับตัวและมีชีวิตที่เป็นสุขกับสังคมรอบข้างได้เป็นอย่างดีในต่อไป
วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการแสดงออกความสามารถ ต้องการการยอมรับ เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ต้องคิดหากิจกรรมที่จะให้เขาได้ทำในสิ่งที่ต้องการในทางที่ถูกต้อง การที่จะทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมความรุนแรงลงได้ต้องใช้เวลานานและต้องอดทนที่จะทำค่อยๆ ปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีงามของเราให้เขาจนเขาสามารถซึมซับได้ เขาก็จะเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เขาจะทำมันถูกต้อง
ที่มา: หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น