วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความหมายของความรุนแรง

ความหมายของความรุนแรง


ความหมายของความรุนแรง


ความรุนแรง ” คือ พฤติกรรมการใช้อำนาจในการควบคุมหรือบังคับขู่เข็ญผู้อื่นให้เกิดความกลัว เช่น การทำร้ายร่างกายการข่มขืน และการทารุณกรรมทางด้านจิตใจเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ที่ผิดปกติ และสาเหตุส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาทางเพศ ปัญหาการกดขี่แรงงานเด็ก
ความรุนแรงต่อสตรี หมายถึง การกระทำใด ๆ ก็ตามที่เป็นผล หรืออาจเป็นผลให้เกิดการทำร้ายร่างกาย ทางจิตใจ และทางเพศ เป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สตรี รวมทั้งการขู่เข็ญกีดกันจำกัดเสรีภาพ ทั้งในที่สาธารณะและในชีวิตส่วนตัว
ความรุนแรงต่อเด็ก หมายถึงการที่เด็กได้รับการปฏิบัติจากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นในหรือนอกครอบครัว จนเป็นเหตุให้เด็กได้รับอันตราย บาดเจ็บ กระทบกระเทือนทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางเพศ ตลอดจนการถูกละเลย ไม่สนองตอบความต้องการพื้นฐาน เช่น อาหาร การดูแลสุขภาพ และการอบรมเลี้ยงดู
ความรุนแรง เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อร่างกายและจิตใจของผู้ถูกกระทำ และคนที่อยู่รอบข้าง ดังที่มีตัวอย่างให้พบเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ทุกวัน เช่นกรณีพ่อทุบตีแม่ เด็กก็อาจจะถูกทุบตีไปด้วย เด็กที่ถูกทุบตี ทำร้าย หรือได้เห็นความรุนแรงเสมอ ๆ จะฝังใจเรื่องความรุนแรง เด็กจะเข้าใจผิดว่า ปัญหาแก้ไขได้ด้วยความรุนแรง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ปัญหาทุกปัญหาควรแก้ไขด้วยเหตุผล ด้วยการพูดจาทำความเข้าใจ นอกจากนี้ การอยู่ในภาวะแวดล้อมที่มีความรุนแรง เด็กจะ
ทำไมผู้ชายถึงทำร้ายผู้หญิง?
พฤติกรรมของความก้าวร้าวและรุนแรงมาจากปูมหลังหรือภูมิหลังของครอบครัว จากบุคลิกภาพส่วนตัว ผู้ที่เติบโตมาจากครอบครัวที่ไม่ปกติ ในการจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ก็จะใช้ความรุนแรงในการจัดการกับปัญหาในชีวิตตัวเองเช่นเดียวกันผนวกกับความกดดันจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ยิ่งส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและรุนแรงมากขึ้นผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงมักจะมีความเชื่อว่า ความรุนแรง” เป็นวิธีเดียวที่จะสามารถควบคุมผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลที่ดีเยี่ยมและมักจะไม่รู้สึกเจ็บปวดกับผลลัพธ์หรือการกระทำของตัวเอง
แนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาความรุนแรง
1.มหาวิทยาลัยต่างๆควรที่จะจัดตั้งสถาบันสันติศึกษา เพื่อศึกษาปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม ซึ่งมหาวิทยาลัยในประเทศไทยยังไม่มีสถาบันที่วิจัยในเรื่องดังกล่าว 
2.
การสื่อสารที่ดี สื่อต้องทำหน้าที่ตระหนักรู้ให้กับประชาชนในเรื่องของความดี คุณธรรมจริยธรรม มากกว่าส่งเสริมการบริโภคนิยม 
3.
การเฝ้าระวังร่วมมือกันทุกภาคส่วนช่วยกันดูแลในเรื่องของความรุนแรง 
4.
ส่งเสริมวิธีการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ในโรงเรียน หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานอื่นๆ
5.ทิศทางการพัฒนาประเทศจะต้องลดกระแสการบริโภควัตถุนิยม หันกลับมาสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง 
6.
ต้องกระจายอำนาจไปสู่ชุมชน ท้องถิ่นให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง 
7.
องค์กรในประเทศมีการบริหารแบบแนวดิ่ง ไม่ได้มาจากความคิดเห็นระดับล่าง จึงทำให้ประเทศไทยเกิดความรุนแรงความขัดแย้ง ควรที่จะปรับเปลี่ยนการบริหาร และ
8.รัฐบาล ภาคสังคม ระบบการศึกษา ต้องส่งเสริมความรู้ให้ประชาชนไทยปฏิวัติจิตสำนึกของตนเองให้หันมาเห็นใจในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน ตลอดจนหันมาพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแทนการใช้ความรุนแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น